ความเป็นมาสำนักฯ

01

  ประวัติความเป็นมา

Office of Property Krirk University

        สำนักทรัพย์สิน มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานบริหารของมหาวิทยาลัย เดิมงานบัญชี งบประมาณ และการเงิน อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักอธิการบดี โดยแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ 1) งานการเงินและงบประมาณ 2) งานบัญชี เมื่อปี พ.ศ.2532 ได้เพิ่มหน่วยงานร้านค้าสวัสดิการ ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2539 และได้แบ่งแยกหน่วยงานการเงินและงบประมาณออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ งานการเงินและงานงบประมาณ

02

  โครงสร้างสำนัก

ปีพุทธศักราช 2561

มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร พ.ศ.2561 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ตามมติการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกริก ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 (วันที่ 27 กันยายน 2561) เป็น “ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บัญชี งบประมาณและการเงิน” มีหน่วยงาน จำนวน 3 งาน คือ 1) งานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) งานบัญชีและงบประมาณ 3) งานการเงิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บัญชี งบประมาณและการเงิน

ปีพุทธศักราช 2562

มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดตั้ง “สำนักทรัพย์สิน” ขึ้นในส่วนการบริหารงานของสำนักทรัพย์สิน นั้น มีการปรับเพิ่มหน่วยงานระดับ “งาน” ขึ้นเป็นระดับฝ่าย จำนวน 4 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายการเงิน 2) ฝ่ายบัญชี 3) ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และ 4) ฝ่ายจัดซื้อ และพัสดุ อันส่งผลดีต่อการบริหารจัดงานภายใต้ภารกิจงานที่ปฏิบัติอยู่ให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

03

  ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

Human Resources Department

          ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร เพราะปัจจัยด้านบุคลากรหรืออัตรากำลังปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการชี้ขาดความสำเร็จในการทำงานทุกองค์กร ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นกลไกลสำคัญที่จะเข้าไปขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยเกริก เพื่อก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ พัฒนาคนด้านวิชาชีพเพื่อสร้างพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพ เพื่อให้การพัฒนาของบุคลากรของมหาวิทยาลัยสอดรับกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจในการบริหารจัดการ บรรลุผลสำเร็จครอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทั้งในส่วนของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน โดยมีจำนวนที่เพียงพอมีคุณภาพเหมาะสมมีสัดส่วนคุณวุฒิ และตำแหน่งทางวิชาการอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย

04

  ฝ่ายบัญชี

Accounting Department

          เป็นแหล่งรวบรวมขอมูลและเอกสารต่างๆ ที่ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยดำเนินการและนำข้อมูลมาบันทึกบัญชี แล้วทำรายงานและงบแสดงฐานะการนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างที่งานบัญชีได้รับต้องครบถ้วนถูกต้องตามหลักการบัญชี การจัดทำงบประมาณ และตรวจสอบและควบคุมเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ รับทราบถึงงบใช้ไป/คงเหลือ แต่ละภาคการศึกษาเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับแต่ละกองทุน แต่ละภาคการศึกษา

05

  ฝ่ายการเงินและงบประมาณ

Finance Department

       มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลการรับจ่ายเงิน/เช็คของมหาวิทยาลัย สรุปรายรับ รายจ่ายประจำวัน และสรุปเงินรายเดือนเพื่อเสนอผู้บริหารสูงสุดเพื่อเป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจตรวจสอบและควบคุมการรับจ่ายเงินให้เป็นไปตามงบประมาณ คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ชำระต้องเสียภาษี เพื่อนำส่งกรมสรรพากร

06

  ฝ่ายจัดซื้อ

Purchasing Department

          มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อพัสดุ ครุภัณฑ์ การจ้าง และการพัสดุ อันได้แก่ การเก็บรักษา การจัดทำบัญชีเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ ติดต่อบริษัทห้างร้านต่างๆ ก่อนดำเนินการจัดซื้อพัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อสำรวจคุณภาพราคาและต่อรองราคาพัสดุ และครุภัณฑ์เพื่อให้ได้ราคาตามงบประมาณและความต้องการ ขอใบเสนอราคา จัดทำเอกสารการขออนุมัติจัดซื้อ โดยมีการลงนามจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร ขั้นตอนการจัดซื้อหากผ่านการอนุมัติแล้ว มีการส่งของควรตรวจสอบคุณลักษณะ ไม่มีตำหนิความถูกต้องของพัสดุครุภัณฑ์ตรงตามออเดอร์หรือใบสั่งซื้อ ให้เรียบร้อย ใบรับประกันคุณภาพ รวมทั้งจัดเก็บใบเสร็จรับเงิน เพื่อไว้เคลียร์ฝ่ายบัญชีและการเงิน จัดทำทะเบียนและรหัสพัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ในอนาคตยังมีหน้าที่บริหารจัดการ จัดซื้อ และพัสดุ เพื่อจัดจำหน่าย ให้แก่ นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจจากภายนอก ตามนโยบายผู้บริหารอย่างมืออาชีพ